โครงการส่งเสริมและเผยแพร่ความจริงที่ถูกต้องเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหา (คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)

รายละเอียดชุดโครงการ

ชื่อชุดโครงการ โครงการส่งเสริมและเผยแพร่ความจริงที่ถูกต้องเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหา (คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)
รหัสชุดโครงการ S4
ภายใต้แผนงาน/โครงการ โครงการส่งเสริมและเผยแพร่ความจริงที่ถูกต้องเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหา
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 2,456,330.00 บาท
ผู้รับผิดชอบ ผศ.สุพร สุนทรนนท์
พื้นที่ดำเนินการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

ข้อมูลในการดำเนินงาน

สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 แหล่งเรียนรู้
5.00
2 เด็กและเยาวชนในพื้นที่ชายแดนใต้
500.00
3 ครูและบุคลากรทางการศึกษา
500.00
4 นักศึกษาสายครูซึ่งเป็น"ต้นกล้าครู"
60.00

สถานการณ์/หลักการและเหตุผล (บรรยายเพิ่มเติม)

จากข้อมูลพื้นฐานทางการศึกษาพบว่าในพื้นที่ชายแดนใต้ มีประชากรวัยเรียน อายุ 3 – 21 ปี จำนวน 961,063 คน มีจำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษาจำนวน 59,625 คน และมีสถานศึกษาทุกสังกัด รวมถึงตาดีกา จำนวน 5,084 แห่ง (ศูนย์ประสานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้, 2561) แสดงให้เห็นถึงปริมาณงานด้านการศึกษาและกลุ่มประชากรและกลุ่มเป้าหมายที่จะนำไปสู่การสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นในพื้นที่ชายแดนใต้ โดยกลุ่มครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นกลุ่มคนที่มีความสำคัญในการส่งต่อทัศนคติและชุดความเชื่อที่ถูกต้องไปสู่เด็กนักเรียนและเยาวชนผ่านการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียน โดยมีกิจกรรมสำคัญที่ต้องดำเนินการเพื่อสนับสนุนแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนี้ 1. กิจกรรมการเพื่อการป้องกัน : การติดตาม กำกับ และควบคุม ผู้กระทำผิด ผู้บ่มเพาะ ผู้บิดเบือนหลักคำสอนของศาสนาอิสลามที่เป็นต้นต่อของปัญหา 2. กิจกรรมเพื่อการแก้ไขปัญหา : 2.1 การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเยาวชนในทุกช่วงวัย เพื่อไม่ให้ถูกชักจูงและหลงผิด 2.2 มาตรการในการป้องกันและควบคุมกลุ่มคนที่มีแนวโน้มเป็นปฏิปักษ์หรือเป็นภัยต่อสังคม 2.3 กระบวนการการปลูกฝังเยาวชนให้มีทัศนคติถูกต้องต่อบ้านเมือง มีคุณธรรมและเป็นพลเมืองดี 2.4 การส่งเสริมการใช้ภาษา และภาษาอื่นๆ ในการสื่อสารและเคารพความต่างด้านภาษาและวัฒนธรรม 2.5 สร้างทัศนคติที่ดีและสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไทย 3. กิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง : 3.1 การปลูกฝังอุดมการณ์รักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ 3.2 การสร้างเยาวชนให้มีอัตลักษณ์ของความเป็นไทย และคงอยู่ซึ่งวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียม ประเพณีที่ตนนับถือ 3.3 สร้างสังคมสันติสุขบนความหลากหลายทางพหุวัฒนธรรม 3.4 ลดช่องว่างและความใกล้ชิดกับภาครัฐ จากกิจกรรมสำคัญที่ต้องดำเนินการเพื่อสนับสนุนแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ดังกล่าวข้างต้น มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาจึงได้เสนอโครงการ “พัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและลดความเหลื่อมล้ำจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนใต้” โดยมีแนวคิดหลัก คือ 1) สร้างและเปลี่ยนแปลงทัศนคติของครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ถูกต้อง เพื่อการปลูกฝังและเปลี่ยนแปลงทัศนคติให้กับเด็กนักเรียน เยาวชน และผู้ปกครอง 2) สร้างการรับรู้ผ่านกลไกการจัดการศึกษาโดยสถานศึกษา โดยพัฒนาให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้ส่งต่อการรับรู้ที่ถูกต้องสำหรับกลุ่มเด็ก เยาวชน ผู้ปกครองและประชาชนในชุมชน 3) เปลี่ยนแปลงให้สถานศึกษาเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ในชุมชน ทั้งนี้โครงการ “พัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและลดความเหลื่อมล้ำจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนใต้” มีกลุ่มเป้าหมายการดำเนินการ 4 กลุ่มหลักคือ 1) ครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่เสริมสร้างความมั่นคง (สีแสด) และพื้นที่เร่งรัดพัฒนา (สีเหลือง) มุ่งเน้นกลุ่มครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.) และ ตาดีกา 2) นักศึกษาครูในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 3) ผู้ปกครองนักเรียนในพื้นที่เสริมสร้างความมั่นคง (สีแสด) และพื้นที่เร่งรัดพัฒนา (สีเหลือง) และ 4) เด็ก/เยาวชนในสถานศึกษาและนอกระบบในพื้นที่เสริมสร้างความมั่นคง (สีแสด) และพื้นที่เร่งรัดพัฒนา (สีเหลือง) ในพื้นที่ชายแดนใต้ จากที่มาและแนวคิดของโครงการดังกล่าวข้างต้น แสดงถึงโครงการได้ตอบสนองกิจเพื่อป้องกันมิให้ปัญหาถูกซ้ำเติมรุนแรงขึ้นและกิจเพื่อเสริมความมั่นคงมิให้เกิดเงื่อนไขหล่อเลี้ยงปัญหา โดยให้สถานศึกษา โดยครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินการโดยมีความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ในระดับชาติ ดังนี้ 1. นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2558-2564 สภาความมั่นคงแห่งชาติได้กำหนดนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2558-2564 โดยมีวัตถุประสงค์ 9 ข้อ คือ ๑) เพื่อส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ๒) เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกของคนในชาติให้มีความจงรักภักดีและธำรงรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติศาสนา พระมหากษัตริย์ ๓) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างความปรองดอง ความเป็นธรรม และความสมานฉันท์ในชาติ เพื่อลดการเผชิญหน้า และการใช้ความรุนแรงในทุกรูปแบบ ๔.) เพื่อให้จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความปลอดภัย ปราศจากเงื่อนไขของการใช้ความรุนแรง ๕) เพื่อพัฒนาศักยภาพของภาครัฐ และส่งเสริมบทบาทและ ความเข้มแข็งของทุกภาคส่วน ในการรับมือกับภัยคุกคามทุกรูปแบบที่กระทบกับความมั่นคง ๖) เพื่อให้การจัดการฐานทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม พลังงาน และอาหารมีความมั่นคงความยั่งยืนและมีความสมดุลกับการขยายตัวของการพัฒนาประเทศ รวมถึงลดความเสี่ยงจากผลกระทบของกระแสโลกาภิวัตน์ ๗) เพื่อพัฒนาศักยภาพการเตรียมความพร้อมของชาติในการเผชิญกับภาวะสงครามและวิกฤติการณ์ความมั่นคง อย่างมีเอกภาพและประสิทธิภาพ ๘) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของกองทัพในการป้องกันประเทศ สนับสนุนภารกิจที่ไม่ใช่การสงครามและสามารถผนึกกำลังของกองทัพกับทุกภาคส่วนในการเผชิญกับภัยคุกคามด้านการป้องกันประเทศในทุกรูปแบบ ๙) เพื่อส่งเสริมสภาวะแวดล้อมที่สร้างสรรค์และสันติในการอยู่ร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน กลุ่มประเทศอาเซียน ประชาคมโลก บนพื้นฐานของการรักษาผลประโยชน์และการดำรงเกียรติภูมิของชาติ โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ นโยบายเสริมสร้างความมั่นคงที่เป็นแก่นหลักของชาติและนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ สำหรับความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะอยู่ในส่วนของนโยบายเสริมสร้างความมั่นคงที่เป็นแก่นหลักของชาติประกอบด้วย 1) เสริมสร้างสภาวะแวดล้อมที่สันติสุข ในการนำยุทธศาสตร์พระราชทาน เข้าใจ เข้าถึงพัฒนา และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งยึดมั่นแนวทางสันติวิธีเป็นบรรทัดฐานการจัดการความขัดแย้งความรุนแรงและการสร้างความรักความสามัคคีความสงบสุขและความสมานฉันท์ของประชาชนและลดการใช้ความรุนแรงในพื้นที่ 2) ฟื้นฟูความเชื่อมั่นและลดความหวาดระแวงระหว่างประชาชนกับรัฐ โดยยึดถือความเป็นธรรม และกระบวนการยุติธรรมตามหลักนิติธรรม รวมถึงการเคารพหลักสิทธิมนุษยชนและการพัฒนากลไกคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน 3) เสริมสร้างสันติสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเป็นพลังในการเข้าถึงประชาชน โดยเฉพาะการสร้างการยอมรับของสังคมโดยรวมและส่งเสริมให้คนและสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นสังคมพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง และเร่งรัดการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนที่สอดคล้องกับศักยภาพ ความต้องการ และลักษณะพิเศษเฉพาะของแต่ละพื้นที่ 4) ส่งเสริมความต่อเนื่องของกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข เพื่อแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งและความรุนแรง โดยเฉพาะการพูดคุยเพื่อสันติสุขกับผู้ที่เห็นต่างจากรัฐทั้งในพื้นที่และในต่างประเทศ ในการเสริมสร้างสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม ปลอดภัย รองรับการพูดคุยเพื่อสันติสุข และมีหลักประกันของความต่อเนื่องและความเชื่อมั่นของทุกกลุ่มในการเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพูดคุย 5) สร้างความเข้าใจต่อสถานการณ์ความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ต่อสังคมทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ เพื่อลดเงื่อนไขของการนำไปแสวงประโยชน์ และเกื้อกูลต่อการแก้ไขปัญหาของไทย 6)จัดให้มีกลไกและโครงสร้างการบริหารจัดการของภาครัฐที่มีเอกภาพ ทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการ เพื่อแก้ไขปัญหาตามนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเตรียมพร้อมพื้นที่ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

  1. แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) ประเทศไทยได้มีการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ระยะยาว 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) เพื่อให้ การพัฒนาประเทศมีความต่อเนื่องและมีแนวทางที่ชัดเจน โดยกำหนดวิสัยทัศน์ “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัญชาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยมีเป้าหมายให้ประเทศไทยเข้าสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้สูงภายในปี 2579 ภายใต้ระบบเศรษฐกิจและสังคมไทยที่มี การพัฒนาอย่างมั่นคงและยั่งยืน มีความเป็นธรรมในสังคม ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในภูมิภาคและโลก ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลเข้มแข็ง และเติบโตอย่างมีคุณภาพ เศรษฐกิจและสังคมพัฒนาอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ระบบการบริหารภาครัฐ มีประสิทธิภาพ ทันสมัย รับผิดชอบ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และประชาชนมีส่วนร่วม คนไทยในอนาคตจึงต้องมีศักยภาพและร่วมกันพัฒนาประเทศสามารถปรับตัวรองรับบริบทการพัฒนาในอนาคต มีทักษะในการวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง ภายใต้สังคมแห่งการเรียนรู้ที่คนไทยสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ประกอบด้วย 1) ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงผ่านการสร้างความเชื่อมั่นในกลุ่มประเทศอาเซียนและประชาคมโลกที่มีต่อประเทศไทย 2) ยุทธศาสตร์ของชาติ ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งจำเป็นต้องพัฒนาคนเพื่อยกระดับผลิตภาพและการใช้นวัตกรรมในการเพิ่มขีดความสามารถใน การแข่งขัน 3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาและการเสริมสร้างศักยภาพคนของชาติ เพื่อพัฒนาคนและสังคมไทยให้เป็นรากฐานที่แข็งแกร่งของประเทศ 4) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาส ความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันทางสังคม เพื่อเร่งกระจายโอกาสการพัฒนาให้ทั่วถึงลดความเหลื่อมล้ำไปสู่สังคมที่เสมอภาคและเป็นธรรม 5) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ 6) ยุทธศาสตร์ด้านการปรับปรุงสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐมีขนาดที่เหมาะสมมีสมรรถนะสูง มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล กระจายบทบาทภารกิจไปสู่ท้องถิ่นอย่างเหมาะสม และมีธรรมาภิบาล

สรุปสาระสำคัญ ข้อมูลพื้นฐานและสภาวการณ์ด้านการศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความสำคัญใน การพิจารณากลไกและรูปแบบในการยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยมีข้อมูลสำคัญ คือ มีจำนวนประชากรวัยเรียนอายุ 3 - 21 ปี ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 961,063 คน จำนวนครูผู้สอนครอบคลุมครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งสิ้น จำนวน 59,625 คน และจำนวนสถานศึกษา 5,084 แห่ง (ศูนย์ประสานลับริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้, 2561) จากข้อมูลสำคัญข้างต้น คือ จำนวนประชากรวัยเรียน จำนวนครู และจำนวนสถานศึกษา แสดงให้เห็นปริมาณงานที่ในการดำเนินงานในการเสริมสร้างและปลูกฝังทัศนคติที่ถูกต้องกับครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อการสร้างทัศนคติที่ถูกต้องให้กับเด็กและเยาวชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้ตอบโจทย์เสริมสร้างความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนใต้ จากแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2558-2560 ได้มีการแบ่งพื้นที่ของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็น 3 ระดับ ดังภาพที่ 1











ภาพที่ 1 การแบ่งระดับพื้นที่เป็น 3 ระดับ ที่มา แผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2558-2560 ระดับ 1 สีแสด พื้นที่เสริมสร้างความมั่นคง 10 อำเภอ จังหวัดยะลา ประกอบด้วย อำเภอ รามันและอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ประกอบด้วย อำเภอหนองจิก อำเภอยะรัง อำเภอกะพ้อ อำเภอเมืองปัตตานี และอำเภอสายบุรี จังหวัดนราธิวาส ประกอบด้วย อำเภอรือเสาะ อำเภอระแงะ และอำเภอบาเจาะ ระดับ 2 สีเหลือง พื้นที่เร่งรัดพัฒนา 17 อำเภอ จังหวัดยะลา ประกอบด้วย อำเภอธารโต อำเภอบันนังสตา อำเภอยะหา และอำเภอกรงปินัง จังหวัดปัตตานี ประกอบด้วย อำเภอโคกโพธิ์ อำเภอมายอ อำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ และอำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดนราธิวาส ประกอบด้วย อำเภอยี่งอ อำเภอเมืองนราธิวาส อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอตากใบอำเภอสุไหงปาดี อำเภอสุไหงโกลก อำเภอจะแนะและอำเภอศรีสาคร ระดับ 3 สีเขียว พื้นที่เสริมสร้างการพัฒนา 10 อำเภอ จังหวัดยะลา ประกอบด้วย อำเภอเบตงและอำเภอกาบัง จังหวัดปัตตานี ประกอบด้วย อำเภอแม่ลานและอำเภอไม้แก่น จังหวัดนราธิวาส ประกอบด้วย อำเภอสุคิรินและอำเภอแว้ง จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอเทพา อำเภอจะนะและอำเภอนาทวี จำนวนโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพฐ.)และ สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน (สช.) ระดับ 1 สีแสด พื้นที่เสริมสร้างความมั่นคง จังหวัดยะลา สังกัด (สพฐ.) จำนวน 101 โรงเรียน สังกัด (สช.) จำนวน 43 โรงเรียน จังหวัดปัตตานี สังกัด (สพฐ.) จำนวน 151 โรงเรียน สังกัด (สช.) จำนวน 32 โรงเรียน จังหวัดนราธิวาส สังกัด (สพฐ.) จำนวน 108 โรงเรียน สังกัด (สช.) จำนวน 29 โรงเรียน ระดับ 2 สีเหลือง พื้นที่เร่งรัดพัฒนา จังหวัดยะลา สังกัด (สพฐ.) จำนวน 84 โรงเรียน สังกัด (สช.) จำนวน 32 โรงเรียน จังหวัดปัตตานี สังกัด (สพฐ.) จำนวน 177 โรงเรียน สังกัด (สช.) จำนวน 31 โรงเรียน จังหวัดนราธิวาส สังกัด (สพฐ.) จำนวน 192 โรงเรียน สังกัด (สช.) จำนวน 52 โรงเรียน ระดับ 3 สีเขียว พื้นที่เสริมสร้างการพัฒนา 6 อำเภอ จังหวัดยะลา สังกัด (สพฐ.) จำนวน 27 โรงเรียน สังกัด (สช.) จำนวน 7 โรงเรียน จังหวัดปัตตานี สังกัด (สพฐ.) จำนวน 21 โรงเรียน สังกัด (สช.) จำนวน 2 โรงเรียน จังหวัดนราธิวาส สังกัด (สพฐ.) จำนวน 42 โรงเรียน สังกัด (สช.) จำนวน 7 โรงเรียน จังหวัดสงขลา สังกัด (สพฐ.) จำนวน 160 โรงเรียน สังกัด (สช.) จำนวน 56 โรงเรียน จากภาพที่ 1 แสดงดังพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินโครงการ พัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและลดความเหลื่อมล้ำจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนใต้ คือครอบคลุมพื้นที่เสริมสร้างความมั่นคง (สีแสด) 10 อำเภอ และ พื้นที่เร่งรัดพัฒนา (สีเหลือง) 17 อำเภอ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 4 กลุ่มหลักคือ 1) ครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยมุ่งเป็นกลุ่มโรงเรียน สช. และ ตาดีกา 2) นักศึกษาครูในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 3) ผู้ปกครองนักเรียน 4) นักเรียนเด็กและเยาวชนทั้งในระบบและนอกระบบ ความจำเป็นเร่งด่วน มีความจำเป็นเร่งด่วนเนื่องจาก การเสริมสร้างความมั่นคงต้องใช้กระบวนการปลุกฝังและบ่มเพาะทัศนคติในทางบวกโดยยกกระบวนการทางการศึกษาจึงจะสามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างยังยืน อีกทั้งการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพจะลดความเหลื่อมล้ำที่เกิดจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนใต้ นำไปสู่ความมั่นคงในพื้นที่ โดยมีครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยเฉพาะผู้บริหารและบุคลากรอื่นๆ เป็นกลไกสำคัญในการจัดการศึกษา ซึ่งมีโจทย์สำคัญในพื้นที่คือ “ ความสามารถด้านภาษาและการอ่านเขียนได้ ภาษาไทย” หน่วยงานบูรณาการ 1) หน่วยงานรับผิดชอบหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 2) หน่วยบูรณาการ หน่วยดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง 1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส 2. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และ จังหวัดนราธิวาส 3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15 4. องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในจังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส 5. ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา 6. สถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส

กรอบแนวคิด

กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 1060 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่ชายแดนใต้ ได้รับก 500 -
นักศึกษาสายครูซึ่งเป็น"ต้นกล้าครู" ได้รับการพัฒนาศ 60 -
เด็กและเยาวชนในพื้นที่ชายแดนใต้เข้าถึงแหล่งเรียนรู 500 -

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1) เพื่อศึกษาและสร้างทัศนคติที่ถูกต้องและเสริมสร้างกระบวนคิดที่ถูกต้องของครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนเกี่ยวกับการจัดการศึกษาในพื้นที่ชายแดนใต้

 

0.00
2 2) เพื่อพัฒนานักศึกษาสายครู ครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่ชายแดนใต้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและลดความเหลื่อมล้ำจากเหตุการณ์ความไม่สงบโดยให้มีความสามารถด้านในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านภาษาการอ่านออกเขียนได้ภาษาไทยและมีทักษะด้านการรู้หนังสือ และให้มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

500.00 0.00
3 3) เพื่อปลูกฝังทัศนคติที่ถูกต้องให้กับเด็กและเยาวชนโดยให้มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพสำหรับการให้บริการกับผู้เรียนในพื้นที่ชายแดนใต้

 

5.00 0.00
4 4) เพื่อพัฒนาและให้บริการ สื่อ วรรณกรรม และนวัตกรรมทางการศึกษาในด้านหนังสือ วรรณกรรม พหุภาษาและภาษาไทยกับครูและนักเรียน ผู้ปกครอง ในพื้นที่ชายแดนใต้

 

500.00 0.00

การดำเนินงาน/กิจกรรม

วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย (คน)งบกิจกรรม (บาท)ทำแล้วใช้จ่ายแล้ว (บาท)
11 พ.ย. 62 - 31 ธ.ค. 62 พัฒนาแหล่งเรียนรู้คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 500 135,000.00 -
14 - 15 ธ.ค. 62 พัฒนาศักยภาพครูสังคมศึกษาที่สอนไม่ตรงสาระ 100 213,000.00 -
14 - 15 ธ.ค. 62 พัฒนาศักยภาพครูภาษาอังกฤษในการวิเคราะห์โจทย์ O-NET ป.6 100 213,000.00 -
14 - 15 ธ.ค. 62 พัฒนาศักยภาพครูภาษาไทยในการวิเคราะห์โจทย์ O-NET ป.6 100 213,000.00 -
21 - 22 ธ.ค. 62 พัฒนาศักยภาพครูภาษามลายูที่สอนไม่ตรงสาระ 100 213,000.00 -
21 - 22 ธ.ค. 62 พัฒนาศักยภาพครูภาษาไทยในการวิเคราะห์โจทย์ PISA 100 213,000.00 -
18 - 19 ม.ค. 63 พัฒนาศักยภาพครูภาษาไทยที่สอนไม่ตรงสาระ 100 213,000.00 -
18 - 19 ม.ค. 63 พัฒนาศักยภาพครูสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมในการวิเคราะห์โจทย์ O-NET ป.6 100 213,000.00 -
25 - 26 ม.ค. 63 พัฒนาศักยภาพครูภาษาอังกฤษที่สอนไม่ตรงสาระ 100 213,000.00 -
รวม 1,300 1,839,000.00 0 0.00
วิธีดำเนินการ (บรรยายเพิ่มเติม)

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) ประชาชนในพื้นที่ชายแดนใต้ได้รับบริการข้อมูลทางการศึกษาในพื้นที่ชายแดนใต้ 2) เด็กและเยาวชนในพื้นที่ชายแดนใต้เข้าถึงแหล่งเรียนรู้และและสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมทัศนคติที่ถูกต้องประเภทหนังสือวรรณกรรม เพื่อการปลูกฝังทัศนคติที่ถูกต้อง 3) ครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่ชายแดนใต้ ได้รับการพัฒนาศักยภาพและสร้างทัศนคติที่ถูกต้อง เพื่อการปลูกฝังและถ่ายทอดสู่นักเรียนและผู้ปกครอง รวมถึงประชาชนในชุมชน 4) นักศึกษาสายครูซึ่งเป็น"ต้นกล้าครู" ได้รับการพัฒนาศักยภาพในการทำกิจกรรมกับเด็กๆในพื้นที่ชายแดนใต้และผู้ปกครองร่วมถึงผู้นำชุมชน

พัฒนาโครงการ

โครงการย่อย

ชื่อโครงการงบประมาณวันที่อนุมัติสถานภาพโครงการ
1 ผลิตสื่อและนิทานสำหรับเด็ก 417,330.00 1 ต.ค. 2562 กำลังดำเนินโครงการ
2 พัฒนาศักยภาพครูภาษาไทยที่สอนไม่ตรงสาระ  213,000.00 1 ต.ค. 2562 กำลังดำเนินโครงการ
3 พัฒนาศักยภาพครูภาษาอังกฤษที่สอนไม่ตรงสาระ  213,000.00 1 ต.ค. 2562 กำลังดำเนินโครงการ
4 พัฒนาศักยภาพครูสังคมศึกษาที่สอนไม่ตรงสาระ  213,000.00 1 ต.ค. 2562 กำลังดำเนินโครงการ
5 พัฒนาศักยภาพครูภาษามลายูที่สอนไม่ตรงสาระ  213,000.00 1 ต.ค. 2562 กำลังดำเนินโครงการ
6 พัฒนาศักยภาพครูภาษาอังกฤษในการวิเคราะห์โจทย์ O-NET ป.6 213,000.00 1 ต.ค. 2562 กำลังดำเนินโครงการ
7 พัฒนาศักยภาพครูสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมในการวิเคราะห์โจทย์ O-NET ป.6 213,000.00 1 ต.ค. 2562 กำลังดำเนินโครงการ
8 พัฒนาศักยภาพครูภาษาไทยในการวิเคราะห์โจทย์ O-NET ป.6 213,000.00 1 ต.ค. 2562 กำลังดำเนินโครงการ
9 พัฒนาศักยภาพครูในการวิเคราะห์โจทย์ PISA ด้านการอ่าน 213,000.00 1 ต.ค. 2562 กำลังดำเนินโครงการ
10 พัฒนาศักยภาพครูไทย  200,000.00 1 ต.ค. 2562 กำลังดำเนินโครงการ
11 พัฒนาแหล่งเรียนรู้คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 135,000.00 1 ต.ค. 2562 กำลังดำเนินโครงการ

เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบโดย nuraiya nuraiya เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 09:14 น.