https://eis.yru.ac.th/-/dragon222/

อบรมปฏิบัติการออกแบบการเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ | ระบบติดตามโครงการ YRU

อบรมปฏิบัติการออกแบบการเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ : สำรวจทัศนคติครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และผู้นำชุมชนชายแดนใต้

23 พฤศจิกายน 2562
saneeyahsaneeyah
รายงานจากพื้นที่
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

วันที่ 21 พฤศจิกายน  2562 เวลา กิจกรรม 08.30 – 08.45 น.  ลงทะเบียน 08.45 - 09.00 น. - พิธีเปิด โดย ผศ.ดร.เกสรี  ลัดเลีย รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 09.00 - 10.00 น.  - บรรยายพิเศษ หัวข้อ “การศึกษากับความมั่นคง : บทบาทมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา”
โดย ดร.ศิริชัย นามบุรี 10.00 - 10.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง 10.15 - 12.15 น.  - เวทีเสวนา “การจัดการศึกษาในพื้นที่ชายแดนใต้ ในมิติการศึกษาเพื่อความมั่นคง”
  ดำเนินรายการโดย ผศ.แวอาซีซะห์ ดาหะยี   ผู้ร่วมเสวนา
1. ดร.ศิริชัย นามบุรี 2. นายซอและ  เกปัน 3. นายวิทยาศิลป์  สะอา 4. นายภิรมย์  จีนธาดา 5. พันเอก ฐกร เนียมรินทร์
12.15 – 13.00 น.  พักรับประทานอาหารเที่ยง 13.00 – 14.45 น.  - แบ่งกลุ่มปฏิบัติการ “อบรมปฏิบัติการออกแบบการเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่  ชายแดนใต้” โดย ผศ.ดร.เกสรี  ลัดเลีย และคณะ
14.45 – 15.00 น.  พักรับประทานอาหารว่าง 15.00 - 16.45 น.  - แบ่งกลุ่มปฏิบัติการ “อบรมปฏิบัติการออกแบบการเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่  ชายแดนใต้” โดย ผศ.ดร.เกสรี  ลัดเลีย และคณะ (ต่อ) วันที่ 22 พฤศจิกายน  2562 เวลา กิจกรรม 08.30 – 09.00 น.  ลงทะเบียน 09.00 - 10.30 น. - แบ่งกลุ่มปฏิบัติการ “อบรมปฏิบัติการออกแบบการเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่  ชายแดนใต้” โดย ผศ.ดร.เกสรี  ลัดเลีย และคณะ (ต่อ) 10.30 - 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง 10.45 - 12.15 น. - แบ่งกลุ่มปฏิบัติการ “อบรมปฏิบัติการออกแบบการเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่  ชายแดนใต้” โดย ผศ.ดร.เกสรี  ลัดเลีย และคณะ (ต่อ) 12.15 – 13.00 น.  พักรับประทานอาหารเที่ยง 13.00 – 14.30 น.  - แบ่งกลุ่มนำเสนอ และแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน โดย อาจารย์ซอและ  เกปัน และคณะ
14.30 – 14.45 น.  พักรับประทานอาหารว่าง 14.45 - 16.45 น. - แบ่งกลุ่มนำเสนอ และแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน โดย อาจารย์ซอและ  เกปัน และคณะ (ต่อ)

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้นำชุมชน (กลุ่ม 1) 1. การศึกษาสามารถเสริมสร้างความมั่นคงให้กับพื้นที่ชายแดนใต้ได้อย่างไร ? - สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันเพื่อให้เห็นความสำคัญของการศึกษา - เปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา - มีผู้แทนของชุมชนในการเป็นกระบอกเสียงเพื่อสะท้อนถึงความต้องการของชุมชน - ให้ความสำคัญต่อการให้ความรู้และการจัดการศึกษาแก่ครอบครัว 2. การจัดการศึกษาในพื้นที่ที่หลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรมควรมีลักษณะดังนี้ - เป็นไปตามบริบทพื้นที่ของแต่ละชุมชน - เป็นไปตามความต้องการของชุมชนโดยการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนโรงเรียนให้ความสำคัญกับกลุ่มเด็กและเยาวชน 3. ความคาดหวังในการที่ภาครัฐดูแลและจัดการศึกษาในพื้นที่ชายแดนใต้ - ความเสมอภาคใน ทุกระบบการจัดการศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการของรัฐได้อย่างเท่าเทียม กลุ่มครู (กลุ่ม 2) 1. การศึกษาสามารถเสริมสร้างความมั่นคงให้กับพื้นที่ชายแดนใต้อย่างไร ? - การศึกษาสามารถยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิต - การศึกษาสามารถปลูกจิตสำนึกสิ่งที่ดีงามให้แก่ชุมชน - การศึกษาสามารถเป็นรากฐานของสถาบันครอบครัว - การศึกษาสามารถสร้างอาชีพให้แก่ชุมชนได้
- ให้โอกาสกับเด็กและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา การศึกษาสร้างความเสมอภาคให้เท่าเทียมกัน - สร้างความเสมอภาคให้เท่าเทียมกัน 2. การจัดการศึกษาในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรมควรมีลักษณะอย่างไร ?
- จัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการใช้ชีวิตในสังคมพหุวัฒนธรรม - เคารพความคิดเห็นและเสรีภาพของผู้อื่น - สอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ภาษาท้องถิ่นของแต่ละภาคในประเทศไทย - สอนให้ผู้เรียนศึกษาวัฒนธรรรมท้องถิ่นของตนเองและท้องถิ่นอื่น ๆ
- ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา - กำหนดเป้าหมายทางการศึกษาที่เป็นเอกภาพ 3. ความคาดหวังในการที่ภาครัฐดูแลและจัดการศึกษาในพื้นที่ชายแดนใต้ ? - ให้ภาครัฐดูแลรายได้ของสถาบันครอบครัวโดยการสร้างอาชีพที่มั่นคง - ส่งเสริมความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษา - ติดตามกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดและทั่วถึง - ภาครัฐควรกำหนดแผนการจัดการเรียนรู้ที่ชัดเจน - ให้ภาครัฐสนับสนุนทุนในการประกอบอาชีพ และมีอาชีพในท้องถิ่นรองรับผู้สำเร็จการศึกษา - ภาครัฐจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของชายแดนใต้ กลุ่มครู (กลุ่ม 3) 1. การศึกษาสามารถเสริมสร้างความมั่นคงในเชิงชายแดนใต้ได้อย่างไร ? - ทำให้คนในสังคมมีคุณธรรมจริยธรรมที่ดี - ทำให้คนในสังคมมีความรู้เพิ่มขึ้นและเป็นที่ยอมรับของภาครัฐ - ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น - เยาวชนมีความรู้ในทุกด้านและมีภูมิคุ้มกันที่ดี 2. การจัดการศึกษาในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรมควรมีลักษณะอย่างไร ? - การจัดการศึกษาบูรณาการอย่างหลากหลายการศึกษาเป็นเครื่องมือและเปลี่ยน เรียนรู้แบบพหุวัฒนธรรมโดยไม่แบ่งแยก 3. ความคาดหวังในการที่ภาครัฐดูแลและจัดการศึกษาในพื้นที่ชายแดนใต้ ? - จัดทําหลักสูตรท้องถิ่น กลุ่มผู้ปกครอง (กลุ่ม 4) ข้อที่ 1 การศึกษาสามารถเสริมสร้างความมั่นคงให้กับพื้นที่ชายแดนใต้ได้อย่างไร ? - ในเรื่องการประกอบอาชีพ เช่น ครู ตำรวจ หน่วยงานราชการ - พัฒนาชีวิตในการทำเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เลี้ยงชีพได้อย่างยั่งยืน ตามรอยของในหลวง - ช่วยเรื่อง คุณธรรมจริยธรรม - สร้างระเบียบวินัย การอยู่ร่วมกันในสังคมขัดเกลาภาษา มารยาทการปรับตัวในสังคม - สร้างระเบียบวินัยในชุมชน สังคม มีระเบียบและสงบสุขมากขึ้น ข้อที่ 2 การจัดการศึกษาในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรมควรมีลักษณะอย่างไร ?
- จัดการเรียนรู้แบบพหุภาษา วัฒนธรรม - ครูต้องเป็นตัวอย่าง สื่อสารภาษาท้องถิ่น -  ศึกษาเรื่องศาสนา ความต่างของแต่ละศาสนา - ครูต้องสามารถสื่อสารภาษาท้องถิ่นหรือมลายูได้ - มีการใช้สื่อที่หลากหลาย - ความปลอดภัยของเด็ก - ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมในโรงเรียน เช่น ภาษา ข้อที่ 3 ความคาดหวังการที่ภาครัฐดูแลและจัดการศึกษาในพื้นที่ชายแดนใต้ได้อย่างไร ? - เรื่องโอกาส เช่น การจัดทุนการศึกษาให้กับเด็กที่ด้อยโอกาสหรือเด็กเรียนดีให้ทั่วถึง - เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองกับสถานศึกษามีส่วนร่วมซึ่งกันและกัน - เสริมสร้างให้เด็กมีแรงผลักดัน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ - สนับสนุนสื่อการเรียนการสอนให้แก่เด็กอย่างเพียงพอและทั่วถึง กลุ่มครู (กลุ่ม 5) 1. การเสริมสร้างความมั่นคงให้กับพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ? - ส่งเสริมทักษะอาชีพ - ส่งเสริมเรื่องสุขภาวะ - สร้างความมั่นคงในเรื่องของรายได้ - ทักษะในการใช้เทคโนโลยี - ส่งเสริมในเรื่องของการออม - ส่งเสริมในเรื่องกีฬา - การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข - การสร้างจิตอาสา - การมีน้ำใจ
2. การจัดการศึกษาในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ? - จัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย - จัดบอร์ดความรู้เรื่องวัฒนธรรม - จัดกิจกรรมศึกษาแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ - จัดพื้นที่ในเรื่องของการปฏิบัติศาสนกิจ - จัดกิจกรรมร่วมกันในบางโอกาส - จัดกิจกรรมทางศาสนาให้เท่าเทียมกัน - จัดกิจกรรมร่วมกัน 3. ความคาดหวังในพื้นที่ ? - สนับสนุนประมานและครุภัณฑ์ - นโยบายด้านการศึกษาที่ต่อเนื่อง

ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม : (0)

รายงานการใช้เงิน
ประเภทรายจ่ายรวมรายจ่ายสถานะ
ค่าตอบแทนค่าจ้างค่าใช้สอยค่าวัสดุค่าสาธารณูปโภคอื่น ๆ
21,800.00 0.00 57,460.00 82,010.00 0.00 0.00 161,270.00